เริ่มเปิดดำเนินการ
ปี 2541
ระยะเวลาในการศึกษา
4 ปีการศึกษา
สถานที่เรียน
ศูนย์ศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
การประกันคุณภาพ
สภามหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตยสภา และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
WESTERN-WTU
Open everyday
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษา ผ่านระบบเครือข่าย(CNE)
สมัครเรียนปริญญาตรีออนไลน์ เรียนปริญญาโทออนไลน์ เรียนปริญญาเอก
คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยุ่ร่วมกันในสังคมประเภทหนึ่ง ที่มีผลบังคับแน่นอน ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ ที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่กำหนดสิทธิหน้าที่รับผิดชอบ บทบาท ของบุคคลในทุกกิจกรรม และ ทุกระดับเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และ ความสงบเรียบร้อยในสังคมนิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการเกี่ยวกับสาระของกฎหมาย ในส่วนสิทธิหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท ตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ และ รัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ นิติศาสตร์มุ่งศึกษาบทบาทของกฎมาย ทั้งในฐานะที่จะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐ มิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือในการนำนโยบายมาปฏิบัติให้ได้ผลจริง
“นิติศาสตร์มุ่งมั่น สรรค์สร้างความยุติธรรม เลิศล้ำความดีเป็นศรีเวสเทิร์น”
หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต
หลักการ และ เหตุผล
คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยุ่ร่วมกันในสังคมประเภทหนึ่ง ที่มีผลบังคับแน่นอน ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ ที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่กำหนดสิทธิหน้าที่รับผิดชอบ บทบาท ของบุคคลในทุกกิจกรรม และ ทุกระดับเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และ ความสงบเรียบร้อยในสังคมนิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการเกี่ยวกับสาระของกฎหมาย ในส่วนสิทธิหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท ตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ และ รัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ นิติศาสตร์มุ่งศึกษาบทบาทของกฎมาย ทั้งในฐานะที่จะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐ มิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือในการนำนโยบายมาปฏิบัติให้ได้ผลจริง
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Laws Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : นิติศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : น.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Laws
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : LL.B.
การรับรองหลักสูตร
รายละเอียด ดาวน์โหลด
เริ่มเปิดดำเนินการ
ปี 2541
ระยะเวลาในการศึกษา
4 ปีการศึกษา
สถานที่เรียน
ศูนย์ศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
การประกันคุณภาพ
สภามหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตยสภา และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ค่าลงทะเบียน
1.
ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน
3,500
บาท
2.
ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
162,000
บาท
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา
135,000
บาท
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
165,500
บาท
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา
138,500
บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระในวันรายงานตัว
1.
ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน
3,500
บาท
รวมทั้งหมด
3,500
บาท
เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษาหรือต้องสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
โครงสร้าง และ องค์ประกอบของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา/กลุ่มวิชา
หน่วยกิต
1.
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
(1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
9
หน่วยกิต
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา
15
หน่วยกิต
2.
หมวดวิชาเฉพาะ
96
หน่วยกิต
(2.1) กลุ่มวิชาบังคับ
84
หน่วยกิต
(2.1.1) กลุ่มวิชาหลักทั่วไปแห่งกฎหมาย
9
หน่วยกิต
(2.1.2) กลุ่มวิชากฎหมายแพ่ง
19
หน่วยกิต
(2.1.3) กลุ่มวิชากฎหมายอาญา
6
หน่วยกิต
(2.1.4) กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน
9
หน่วยกิต
(2.1.5) กลุ่มวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ
11
หน่วยกิต
(2.1.6) กลุ่มวิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ
13
หน่วยกิต
(2.1.7) กลุ่มวิชากฎหมายระหว่างประเทศ
5
หน่วยกิต
(2.1.8) กลุ่มวิชากฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนทางสังคม
12
หน่วยกิต
การพัฒนาชุมชน หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(2.2) กลุ่มวิชาเลือก
12
หน่วยกิต
3.
หมวดวิชาเลือกเสรี
จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
132
หน่วยกิต
รายวิชาของหลักสูตร
(1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 9 หน่วยกิต
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณบดี
SO1001 พลังอํานาจแห่งชาติ
3 (3-0-6)
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและ สังคมไทยเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้น การศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความ สัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษา (Case Studies) ต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริงศาสนา ภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้าง พลังอํานาจแห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลักธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วน ร่วมทางการเมือง
SO1002 สมรรถนะในการประกอบอาชีพ
3 (3-0-6)
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางาน ร่วมกับผู้อื่นมนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะผู้นํา ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ
HU1001 หลักคุณธรรมและจรรยาบรรณ
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิตบทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติตน ได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนิน ควบคู่ไปกับจริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่ง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดําเนินชีวิตและการแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
HU1002 ปรัชญา ศาสนา และวัฒนธรรม
3 (3-0-6)
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิตปรัชญาชีวิต วิเคราะห์หา เหตุผลในการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนาเปรียบเทียบ สามารถนําหลักคําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคมรวมทั้งศึกษา การก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอันเป็น เอกลักษณ์ของความเป็นไทย
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
TH1001 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
15 หน่วยกิต
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความ สมเหตุสมผล สามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มี ประสิทธิภาพในการสื่อสารในชีวิตประจําวันพร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้นเน้นทักษะ การเขียนที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและการศึกษา ในระดับสูงต่อไป
EN1001 ภาษาอังกฤษ 1
3 (3-0-6)
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่คือ การฟังการพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูปควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาว และการจับ ใจความ นิสิตจะได้รับการฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
EN1002 ภาษาอังกฤษ 2
3 (3-0-6)
วิชาบังคับก่อน : EN1001 ภาษาอังกฤษ 1 ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ขั้นสูง พร้อมทั้งเน้นฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่มฝึกทักษะ ทางด้านการฟังและการพูดประโยคและบทสนทนาสั้นๆจากสิ่งที่ได้เรียนมา
EN2003 ภาษาอังกฤษ 3
3 (3-0-6)
วิชาบังคับก่อน : EN1002 ภาษาอังกฤษ 2 ในระดับนี้จะเป็นการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิง วิชาการและการสื่อสารแบบต่างๆของวงการธุรกิจรวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับข่าวคราว ความเคลื่อนไหวต่างๆในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่สลับซับซ้อนขึ้น และคําศัพท์ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียนซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกฝนให้เขียนข้อความสั้นๆจากรูป ประโยคและคําศัพท์ดังกล่าวการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องในสถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อและเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจรวมถึงการเรียนรู้ สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาสต่างๆเช่นการทักทายการพูดโทรศัพท์การสัมภาษณ์เพื่อเข้าทํางานการเล่า เรื่องสั้นโดยฝึกสนทนากลุ่มย่อย
EN2004 ภาษาอังกฤษ 4
3 (3-0-6)
ชาบังคับก่อน : EN2003 ภาษาอังกฤษ 3 ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนและปัญหาในการเขียนภาษาอังกฤษของคนไทย ตลอดจนแนวทางแก้ไขการ เขียนและการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนสํานวนที่ถูกต้องของภาษา ทั้งในด้านตรรกวิทยาความเชื่อได้อย่างมี หลักเกณฑ์ โดยเน้นทางด้านธุรกิจและชีวิตประจําวันที่เกี่ยวข้องกับกับธุรกิจ อีกทั้งยังศึกษาความหมายที่ลึกซึ้ง สามารถติดต่องานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสําเร็จ นอกจากนี้ยังฝึกฝนทักษะในการเขียนข้อมูล ส่วนตัว การเขียนในสมัครเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิค การเขียนรายงาน และการเขียน จดหมายติดต่อภาษาอังกฤษ รวมถึงการศึกษาหลักการจดข้อความและฝึกการเขียนบันทึกข้อความที่ใช้ในวงการธุรกิจ ทั่วไปและคําบรรยาย ทั้งจากการฟัง การพูด และการอ่าน พร้อมทั้งฝึกเขียนย่อความ
(1.3) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
MA1001 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน
3 (3-0-6)
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและพัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจําวัน การคํานวณ พื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน การนําวิธีพื้นฐานมาใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนําหลักการทางคณิตศาสตร์มา ประยุกต์ ได้แก่ เซต สมการ ความน่าจะเป็น คณิตศาสตร์การเงิน และการคํานวณภาษีเงินได้
IT1001 สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
3 (3-0-6)
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอน การค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ การอ่านและการจดบันทึกข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียง รายงานวิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิง รวมถึงจริยธรรมของผู้ใช้สารสนเทศ
(2.1.1) กลุ่มวิชาหลักทั่วไปแห่งกฎหมาย 9 หน่วยกิต
LW1201 กฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป
3 (3-0-6)
ศึกษาบ่อเกิดและวิวัฒนาการของกฎหมาย ทฤษฎี และแนวความคิดต่างๆ ทางกฎหมาย ความสัมพันธ์ ระหว่างวิชากฎหมายและศาสตร์แขนงอื่นๆ การใช้กฎหมาย การร่างกฎหมาย และการตีความ และการอุดช่องว่างแห่ง กฏหมาย ตลอดจนหลักสําคัญในกฎหมายลักษณะต่างๆ สิทธิและการใช้สิทธิ หลักนิรโทษกรรมและหลักสุจริต นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 2
LW1203 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศ
2 (2-0-4)
ศึกษาถึงประวัติ วิวัฒนาการของระบบกฎหมายไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นถึงการ ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดทําประมวลกฎหมายในสมัยต่อมา ตลอดจนศึกษา ถึงระบบกฎหมายต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายไทย
LW4227 นิติปรัชญา
2 (2-0-4)
ศึกษาวิวัฒนาการของแนวความคิดปรัชญาทางกฎหมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัญหา รากฐานแห่งกฎหมาย
LW4228 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย
2 (2-0-4)
ศึกษาวิวัฒนาการของวิชาชีพกฎหมาย หน้าที่และงานของนักกฎหมายในสาขาต่างๆ มารยาทและวินัย อุดมคติ องค์การก่อตั้งและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
(2.1.2) กลุ่มวิชากฎหมายแพ่ง 19 หน่วยกิต
LW2205 กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายลักษณะนิติกรรม นิติกรรมกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะเวลาและอายุ ความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และหลักกฎหมายลักษณะสัญญา การทําสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2
Lw2206 กฎหมายลักษณะทรัพย์และที่ดิน
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายลักษณะทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักกฎหมาย ลักษณะทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4, ประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
LW2205 กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายลักษณะทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักกฎหมาย ลักษณะทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4, ประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
LW2207 กฎหมายลักษณะหนี้
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายลักษณะหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 นอกจากที่ เป็นเนื้อหาของกฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญาและกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ประกอบกับศึกษาวิธีการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
LW2208 กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
3 (3-0-6)
ความหมายของกฎหมายละเมิด ความรับผิดเพื่อละเมิดโดยการกระทําของตนเองหรือของผู้อื่นหรือใน ฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินอันก่อให้เกิดการละเมิดค่าสินไหมทดแทน เพื่อละเมิด อายุความละเมิด และนิรโทษกรรม กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐรวมทั้งการจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควร ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2
LW2213 กฎหมายลักษณะประกันภัย
2 (2-0-4)
ศึกษาสัญญาประกันภัยชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ประกันวินาศภัย การประกันภัย ในการรับขนการประกันภัย ค้ําจุน การประกันชีวิต และการประกันภัยในรูปแบบต่างๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3
LW2216 กฎหมายลักษณะครอบครัว
2 (2-0-4)
ศึกษาถึงบทบัญญัติกฎหมายครอบครัวในเรื่องเกี่ยวกับการหมั้นการสมรสความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภริยาทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาความสมบูรณ์ของการสมรสการสิ้นสุดแห่งการสมรสสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา และบุตรความปกครองบุตรบุญธรรมตลอดจนค่าอุปการะเลี้ยงดูและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
LW2217 กฎหมายลักษณะมรดก
2 (2-0-4)
ศึกษาถึงบทบัญญัติกฎหมายมรดกตั้งแต่การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกการเป็นทายาทสิทธิโดยธรรมใน การรับมรดกการแบ่งทรัพย์มรดกหรือส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลําดับและชั้นต่างๆการรับมรดกแทนที่กันการ เป็นทายาทโดยพินัยกรรมแบบพินัยกรรมผลและการตีความแห่งพินัยกรรมความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมหรือ ข้อกําหนดพินัยกรรมวิธีจัดการและปันทรัพย์มรดกมรดกที่ไม่มีผู้รับและอายุความมรดกและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2.1.3) กลุ่มวิชากฎหมายอาญา 6 หน่วยกิต
LW2209 กฎหมายอาญา: ภาคทั่วไป
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 1 -9 ว่าด้วย บทนิยาม การใช้กฎหมายอาญา โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ความรับผิดในทางอาญา การพยายามกระทํา ความผิด ตัวการและผู้สนับสนุน การกระทําความผิดหลายบทหรือหลายกระทง การกระทําความผิดอีก และอายุ ความ และลักษณะ 2 ว่าด้วยบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ
LW2210 กฎหมายอาญา: ภาคความผิด
3 (3-0-6)
วิชาบังคับก่อน : LW2209 กฎหมายอาญา: ภาคทั่วไป ความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2และภาค 3 ของประมวลกฎหมายอาญาตั้งแต่ความผิด เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับ การปกครองความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ความผิด เกี่ยวกับศาสนา ความสงบสุขของ ประชาชนและการค้า ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จนถึงความผิดลหุโทษและความผิดอาญาตาม พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
(2.1.4) กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน 9 หน่วยกิต
LW1202 หลักกฎหมายมหาชน
2 (2-0-4)
ศึกษาสถาบันทางกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบ และรูปของรัฐ การเป็นนิติบุคคลและ สถาบันต่างๆ ของรัฐ ศึกษาความหมายและความจําเป็นของการปกครองโดยกฎหมาย ความเป็นมาและวิวัฒนาการ
LW2217 กฎหมายลักษณะมรดก
2 (2-0-4)
ศึกษาสถาบันทางกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบ และรูปของรัฐ การเป็นนิติบุคคลและ สถาบันต่างๆ ของรัฐ ศึกษาความหมายและความจําเป็นของการปกครองโดยกฎหมาย ความเป็นมาและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายมหาชน ขอบเขตและลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชนศึกษาบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน แนวความคิดและนิติวิธี (Juristic Method) ของกฎหมายมหาชน
LW2204 กฎหมายรัฐธรรมนูญ
3 (3-0-6)
ศึกษาประวัติ และวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ โครงสร้างของรัฐ สถาบันทางการเมือง และองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและองค์กรเหล่านั้น สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ทฤษฎีที่ สําคัญๆ ของระบบรัฐธรรมนูญ เช่น ทฤษฎีการแบ่งแยกอํานาจ ทฤษฎีการตรวจสอบการใช้อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารโดยฝ่ายตุลาการ (Judicial Reviews) รวมทั้งปรัชญาของแนวความคิดต่างๆ ในระบบรัฐธรรมนูญ
LW3225 กฎหมายปกครอง
4 (4-0-8)
ศึกษาประวัติและลักษณะทั่วไปของฝ่ายปกครองและกฎหมายปกครอง บ่อเกิดของกฎหมายปกครอง การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง การจัดระเบียบราชการบริหารบุคคลและทรัพย์สินในกฎหมายปกครอง ทฤษฎีว่าด้วยการกระทําของฝ่ายปกครอง ความรับผิดของฝ่ายปกครอง รวมตลอดจนการควบคุมฝ่ายปกครอง ศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(2.1.5) กลุ่มวิชากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 11 หน่วยกิต
LW2211 เอกเทศสัญญา 1: ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อ ตามกฎหมายว่า ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
LW2212 เอกเทศสัญญา 2: ตัวแทน นายหน้า ยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
3 (3-0-6)
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อจ้างแรงงาน จ้างทําของและรับขน Specific Contract 2: Agency, Brokerage, Loan, Deposit, Warehousing, Compromise, Gamblingand Betting, Services Hire of Work, Hire of and Carriages ศึกษาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า ยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ จ้างแรงงาน จ้างทําของและรับขน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ บรรพ 3
LW2215 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ําประกัน จํานอง จํานํา
2 (2-0-4)
ศึกษาการประกันหนี้ด้วยบุคคล และทรัพย์ ซึ่งได้แก่ สัญญาค้ําประกัน จํานอง จํานําและการประกันใน ลักษณะอื่นๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3
LW3218 กฎหมายลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3
(2.1.6)กลุ่มวิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ 13 หน่วยกิต
LW3219 พระธรรมนูญศาลยุติธรรมและระบบศาลไทย
1 (1-0-2)
ศึกษาพระธรรมนูญศาลยุติธรรมระบบตุลาการอํานาจศาลอํานาจผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพระราชบัญญัติให้นําวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวงมาบังคับใช้ในศาลจังหวัดและกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
LW3220 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1 ว่าด้วยบททั่วไป และภาค 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาใน ศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
LW3221 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
3 (3-0-6)
วิชาบังคับก่อน : LW3220 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 ศึกษาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 3 ว่าด้วยการอุทธรณ์และฎีกา และภาค 4 ว่าด้วย วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง
LW3222 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3 (3-0-6)
ศึกษาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อํานาจ ของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล การฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมายเรียก และหมายอาญา การจับขัง จําคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น การอุทธรณ์ และฎีกา การบังคับตาม คําพิพากษา และค่าธรรมเนียม การอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ
LW3223 กฏหมายลักษณะพยาน
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน ทั้งที่เป็นหลักทั่วไปของกฎหมายลักษณะพยาน และตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐานและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ภาค 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน
(2.1.7) กลุ่มวิชากฎหมายระหว่างประเทศ หน่วยกิต 5 หน่วยกิต
LW4231 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
3 (3-0-6)
ศึกษาประวัติความเป็นมาของกฎหมายระหว่างประเทศ ทฤษฎีของกฎหมายระหว่างประเทศ บ่อเกิด ของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาจารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไป ความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายใน การกระทําที่มีผล ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ และหลัก ว่าด้วยเขตอํานาจของรัฐ หรือดุลอาณาเขตของรัฐ (Jurisdiction)
LW4232 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
2 (2-0-4)
ศึกษาแนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้กฎหมาย กฎหมายขัดกัน รวมถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการ ขัดกันของกฎหมาย พระราชบัญญัติสัญชาติ และกฎหมายอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
(2.1.8) กลุ่มวิชากฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง 12 หน่วยกิต
ทางสังคม การพัฒนาชุมชน หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
LW2214 กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
3 (3-0-6)
ศึกษาอาชญากรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ความหมายของ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การกระทําผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทําต่อระบบคอมพิวเตอร์ การกระทําต่อระบบข้อมูล การกระทําต่อระบบเครือข่ายซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง ทําลาย หรือ ขโมยข้อมูลต่างๆ รวมถึงมาตรการและกลไกของรัฐที่จะดําเนินการกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการ ได้เปรียบในวิถีทางธุรกิจ กับการประกอบอาชญากรรทางคอมพิวเตอร์
LW3224 กฎหมายล้มละลาย
2 (2-0-4)
ศึกษากระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ตั้งแต่ขอล้มละลายจนถึงปลด จากล้มละลาย วิธีการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อํานาจศาลและกระบวนพิจารณาคดี ล้มละลาย การสอบสวนและบทกําหนดโทษ และบทบัญญัติเบ็ดเสร็จ
LW3226 กฎหมายแรงงานและประกันสังคม
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักกฎหมายแรงงานและประวัติความเป็นมาของกฎหมายแรงงานของไทย สัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาแนวคิดพื้นฐาน และประวัติความเป็นมาของกฎหมายประกันสังคม
LW4229 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้าและความลับ ทางการค้าหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กฎหมายภาษีอากร
LW4230 กฎหมายภาษีอากร
3 (3-0-6)
ศึกษาระบบการเก็บภาษีอากรของประเทศ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ตามประมวล รัษฎากร ตลอดจนการเก็บภาษีจากการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์
………………………..
LW4333 กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
2 (2-0-4)
ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญต่างประเทศ
LW4334 กฎหมายเกี่ยวกับรัฐสภา พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง
2 (2-0-4)
ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐสภา กฎหมายพรรคการเมือง และกฎหมายการเลือกตั้ง กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
LW4335 กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
2 (2-0-4)
ศึกษาเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
LW4336 กฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
2 (2-0-4)
ศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อํานาจหน้าที่ตลอดจน ระเบียบและวิธีการขององค์กรส่วนท้องถิ่น และการควบคุมจากส่วนกลาง
LW4337 สัมมนากฎหมายมหาชน
2 (2-0-4)
ศึกษาประเด็นสําคัญๆ ที่เป็นปัญหาในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลัง เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในกฎหมายมหาชนลึกซึ้งยิ่งขึ้น
LW4338 กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันทางการคลังของรัฐ
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักกฎหมายการคลังเกี่ยวกับการเงิน การคลัง วิธีการงบประมาณ และระบบภาษีอากร หลัก เศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเงินการคลัง ซึ่งองค์การของรัฐ ได้แก่ ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ใช้เป็นเครื่องมือในการ บริหารประเทศ
LW4339 กฎหมายป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองผู้บริโภค
2 (2-0-4)
ศึกษาทฤษฎีและวิธีการดําเนินการป้องกันการผูกขาดทางการค้า และทฤษฎีนโยบายและวิธีการ คุ้มครองผู้บริโภค
LW4340 กฎหมายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2 (2-0-4)
ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายของรัฐบาล การแก้ไข สภาวะแวดล้อมด้วยกฎหมายและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อม
LW4341 กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
2 (2-0-4)
ศึกษาประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎีและปรัชญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และสิทธิพลเมือง ตลอดจน วิธีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมถึงศึกษาลักษณะและหลักการ ของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคและองค์กรเอกชนกับ การส่งเสริมและคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมาย สิทธิของเด็กกฎหมายมนุษยธรรมและสิทธิของผู้ลี้ภัย
LW4342 กฎหมายศุลกากร
2 (2-0-4)
ศึกษาลักษณะและวัตถุประสงค์ของกฎหมายศุลกากร วิวัฒนาการของกฎหมายศุลกากร ที่มาของ กฎหมายศุลกากร ความรับผิดในการเสียภาษีศุลกากร พิธีการศุลกากร ความผิดตามกฎหมายศุลกากร อํานาจหน้าที่ ของพนักงานศุลกากร การดําเนินคดีศุลกากร หลักเกณฑ์เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากร การยกเว้นภาษี การตีความ พิกัดอัตราศุลกากร การยกเว้นอากร กฎหมายศุลกากรกับการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายศุลกากรกับการนิคม อุตสาหกรรม
LW4343 กฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินงานอุตสาหกรรม ตลอดจนระเบียบกฏเกณฑ์และ ปัญหาทางด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดําเนินงานอุตสาหกรรม
LW4344 กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน
2 (2-0-4)
ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนทั้งในระดับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศใน ส่วนของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการลงทุนในระดับสากลภายใต้กรอบของ TRIMS และในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการภายใต้กรอบของ ASEAN, APEC และ ASEM และสนธิสัญญาทวิภาคีที่ไทยทํากับ ต่างประเทศโดยศึกษารูปแบบต่างๆของการลงทุนระหว่างประเทศตลอดจนผลกระทบของการก่อตั้งเขตการค้าเสรี และสภาพศุลกากรต่อปริมาณการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาค ASEAN และประเทศไทยด้วยในส่วนกฎหมาย ภายในประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนระหว่างประเทศเช่นกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายส่งเสริมการลงทุนกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการกฎหมายคนเข้าเมืองเป็นต้นตลอดจนความสอดคล้อง ของกฎหมายดังกล่าวกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย
LW4345 กฎหมายว่าด้วยการเงินและการธนาคาร
2 (2-0-4)
ศึกษาบทบาทของธนาคารพาณิชย์ นโยบายการควบคุมและส่งเสริมการธนาคารพาณิชย์ ตลอดจน กฎหมายเกี่ยวกับการธนาคาร เช่น พระราชบัญญัติการธนาคาร พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พระราชบัญญัติเงินตรา ตลอดจนข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทย
LW4346 นิติเวชศาสตร์
2 (2-0-4)
ศึกษาถึงวิทยาการทางการแพทย์ที่สัมพันธ์กับการใช้กฎหมายโดยเฉพาะการพิสูจน์หลักฐานสําหรับการ ดําเนินคดีในทางอาญาและทางแพ่ง
LW4347 สืบสวนและสอบสวน
2 (2-0-4)
ศึกษาและทําความเข้าใจถึงกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญาในชั้นเจ้าหน้าที่ตํารวจ การสืบสวน สอบสวน การกระทําความผิดทางอาญา สิทธิของผู้ต้องหาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
LW4348 ว่าความและศาลจําลอง
2 (2-0-4)
ศึกษาทฤษฎีการว่าความ การเตรียมคดี และทฤษฎีทั้งหลายเกี่ยวกับการสืบพยาน ฝึกภาคปฏิบัติการ ว่าความในศาลจําลอง เพื่อให้นิสิตเกิดความชํานาญในการดําเนินคดีในศาลยุติธรรม
LW4349 การใช้และการตีความกฎหมาย
2 (2-0-4)
ศึกษาในแง่ทฤษฎี ประวัติศาสตร์และในแง่กฎหมายเปรียบเทียบ โดยเฉพาะเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างระบบ Common Law กับระบบ Civil Law หลักการใช้และตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรและการใช้ กฎหมายแบบเทียบเคียง การใช้กฎหมายประเพณี การใช้กฎหมายประเภท “หลักกฎหมายทั่วไป” ตามมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ยังศึกษาถึงหลักการใช้และตีความเฉพาะเรื่อง เช่น กฎหมายอาญา กฎหมายมหาชน นิติกรรม สัญญาและเรื่องอื่น ๆ
LW4350 ภาษาอังกฤษสําหรับนักกฎหมาย
2 (2-0-4)
ศึกษาสํานวนกฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษตลอดจนศัพท์เฉพาะภาษาอังกฤษที่ใช้ในกฎหมาย
LW4351 กฎหมายอิสลาม
2 (2-0-4)
ศึกษาประวัติและอารยธรรมของศาสนาอิสลาม ที่เป็นรากฐานของระบบกฎหมายอิสลาม บ่อเกิดของ กฎหมาย ระบบศาลวิธีพิจารณาความและหลักกฎหมายอิสลาม
LW4352 กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
2 (2-0-4)
ศึกษาวิวัฒนาการและที่มาของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ การขัดกันแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ สัญญาการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเอกชนสําหรับการซื้อขายระหว่างประเทศ การแทรกแซงของรัฐเกี่ยวกับการ แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ซึ่งตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก สัญญาการผลิตระหว่าง ประเทศ การชําระเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศ การขนส่งทางทะเล การประกันภัย ปัญหาที่เกี่ยวกับการ ดําเนินการค้าระหว่างประเทศ และกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ
LW4353 กฎหมายองค์การระหว่างประเทศ
2 (2-0-4)
ศึกษาความหมายและการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ ASEAN, APEC และ ASEM สภาพบุคคลขององค์การระหว่างประเทศ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ และการสิ้นสุดสภาพของการเป็น สมาชิกในองค์การระหว่างประเทศโดยทั่วไป ผลทางกฎหมายของข้อมติในองค์การระหว่างประเทศ เอกสิทธิและความ คุ้มกันขององค์การระหว่างประเทศ ปัญหาทางกฎหมายขององค์การสหประชาชาติ และทบวงการชํานัญพิเศษของ สหประชาชาติ ปัญหาทางกฎหมายบางประการขององค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ
LW4354 กฎหมายทะเล
2 (2-0-4)
ศึกษาประวัติความเป็นมาของกฎหมายทะเล บ่อเกิดของกฎหมายทะเล สถานะทางกฎหมายของพื้นน้ํา ที่อยู่ภายในอํานาจการควบคุมของรัฐ เช่น น่านน้ําภายในทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจําเพาะ ไหล่ทวีป น่านน้ํา หมู่เกาะ ช่องแคบ อ่าว และสถานะทางกฎหมายของพื้นน้ําที่มิได้อยู่ภายใต้อํานาจการควบคุมรัฐ เช่น ทะเลหลวง และเขตก้นทะเลลึก เทคนิคกฏหมายในการกําหนดเขตทะเลและการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศตาม กฎหมายทะเล
LW4355 กฎหมายพาณิชย์นาวี
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักกฎหมายทะเล หลักกฎหมายพาณิชย์นาวี และสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับขนของทางทะเล การทํานิติกรรม ลักษณะต่างๆ เกี่ยวกับเรือ การประกันภัยทางทะเล การเฉลี่ยความ เสียหายของสินค้าในเรือ สิทธิของคนงานและผู้ปฏิบัติงานทางทะเล ความรับผิดอันเกิดจากเรือชนกัน การช่วยเหลือ กู้ภัยทางทะเล ข้อจํากัดของความรับผิดและบทบาทของกฎหมายพาณิชย์นาวีในประเทศไทย
LW4356 อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
2 (2-0-4)
ศึกษาลักษณะและสาเหตุของอาชญากรรม การป้องกันอาชญากรรม สังคมวิทยากฎหมายอาญา รวมทั้งทฤษฎีและผลการวิจัยต่างๆ ศึกษาโครงการแก้ไขบําบัดผู้กระทําผิด ระบบความยุติธรรม ระบบเรือนจํา และทัณฑสถาน ลักษณะทางกายภาพทางสังคมและการศึกษาของผู้ต้องขัง มาตรการรอการลงโทษและพักการ ลงโทษ รวมทั้งสํารวจทฤษฎีและการปฏิบัติต่อผู้กระทําความผิดด้วยวิธีการต่างๆ
LW4357 กฎหมายเกี่ยวกับความผิดเด็กและเยาวชน
2 (2-0-4)
ศึกษาหลักกฎหมายและประเด็นทางสังคมและจิตวิทยาของเด็กและเยาวชนผู้กระทําความผิด กระบวนการยุติธรรม ระบบศาลคดีเด็กและเยาวชน และวิธีการแก้ไขผู้กระทําความผิด รวมทั้งการคุ้มครองผู้เยาว์ใน คดีแพ่งตามกฎหมายจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน
LW4358 กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2 (2-0-4)
ศึกษาระบบทุน การระดมทุนของบริษัทโดยการออกหลักทรัพย์ ชนิดของหลักทรัพย์ การออก หลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ธุรกิจหลักทรัพย์ การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย หลักทรัพย์และการครอบงํากิจการ มาตรการส่งเสริมกํากับควบคุมดูแลและทฤษฎีคุ้มครองผู้ลงทุน ตลอดจนศึกษา ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์และศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า องค์กรที่เกี่ยวกับ หลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์อื่นๆ การกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และองค์กรที่ทําหน้าที่ดังกล่าว
LW4359 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
2 (2-0-4)
ศึกษาประเภท ลักษณะการใช้และการหาประโยชน์ทางธุรกิจในที่ดินโดยเอกชน กฎหมายควบคุมธุรกิจ ดังกล่าวและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารชุด ศูนย์การค้า สถานพักตากอากาศ วิธีปฏิบัติและทําสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
LW4360 กฎหมายสหภาพยุโรป
2 (2-0-4)
ศึกษาความเป็นมาและวิวัฒนาการของสหภาพยุโรป ศึกษาวัตถุประสงค์ บ่อเกิดของกฎหมายสหภาพ ยุโรป ลักษณะทางโครงสร้างของสหภาพยุโรป ศึกษาถึงระบบกฎหมายของสหภาพยุโรป โครงสร้าง อํานาจ หน้าที่และการดําเนินงานของสหภาพยุโรป อันได้แก่ คณะกรรมาธิการ คณะมนตรีสหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรป และสภายุโรป ศึกษากฎหมายเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป เช่น กฎหมายตลาดเดียวยุโรป ความสัมพันธ์ภายในระหว่าง สหภาพยุโรปกับรัฐสมาชิก และความสัมพันธ์ภายนอกของสหภาพยุโรปกับรัฐอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น
BA8101 สัมมนาด้านการบริหารขั้นสูง
3 (3-0-6)
สัมมนาประเด็น ปัญหา และแนวโน้มด้านการบริหารและนวัตกรรมในหัวข้อที่น่าสนใจ โดยการใช้ กรณีศึกษา ผลการวิจัยหรือวิธีการอื่น เพื่อนําความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ โดยเน้น การศึกษาเชิง เละกรณีศึกษา
BA8102 – ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง
3 (1-4-4)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทวิจัย การ ออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการนําเสนอข้อมูล ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรมและจรรยาบรรณ ในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
BA8103 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูง
3 (1-4-4)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย วิธีการวิจัยการดําเนินงานวิจัย ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) การเก็บและการรวบรวมข้อมูล การ ตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ การ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็น รายบุคคล (Individual in depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้ เทคนิคเดลฟาย (Delphi method) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การทําวิจัยแบบผสม (Mix Method) การเขียนโครงร่าง และการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนบทความ การวิจัยเชิงคุณภาพ
BA8104 การประเมินงานวิจัย
3 (1-4-4)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการประเมินงานวิจัย แนวทางในการประเมินงานวิจัยทั้งการวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ขั้นตอนและแนวทางการประเมินทฤษฎีและแบบจําลอง (Model) ที่ใช้ในงานวิจัย การประเมินแหล่งที่มาและกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การประเมินคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล การประเมินการวิเคราะห์ข้อมูล การแปรผล และอภิปรายผลการวิจัย การประเมินงานวิจัย ตามโครงสร้างของรายงานการวิจัย
BA8105 ดุษฎีบัณฑิตสัมมนา
3 (1-4-4)
สัมมนาในหัวข้อที่จะนําไปสู่การทําดุษฎีนิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของอาจารย์ที่ เชี่ยวชาญในหัวข้อดังกล่าว และการศึกษาดูงานในประเทศ/ต่างประเทศเพื่อนํามาบูรณาการในการวิจัย โดย จัดทําเป็นรายงานผลการศึกษาดูงาน
BA9201 ดุษฎีนิพนธ์
36 หน่วยกิต
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
BA9202 ดุษฎีนิพนธ์
48 หน่วยกิต
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
BA9203 ดุษฎีนิพนธ์
72 หน่วยกิต
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เชื่อมต่อการเรียนรู้ “ทุกที่.. ทุกเวลา”