เริ่มเปิดดำเนินการ
ปี 2551
ระยะเวลาในการศึกษา
3 ปีการศึกษา
สถานที่เรียน
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
การประกันคุณภาพ
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
WESTERN-WTU
Open everyday
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษา ผ่านระบบเครือข่าย(CNE)
สมัครเรียนปริญญาตรีออนไลน์ เรียนปริญญาโทออนไลน์ เรียนปริญญาเอก
กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารธุรกิจในสังคมยุคใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าว ดังนั้นจึงได้จัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตทางด้านการบริหารธุรกิจเพื่อพัฒนาบุคลากรสู่ภาครัฐและเอกชน ให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการแข่งขันได้ในเวทีอาเซียนและเวทีโลก
“DBA, Western U. มาร่วมกันก้าวสู่ความเป็นผู้นำ”
หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
หลักการ และ เหตุผล
กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารธุรกิจในสังคมยุคใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าว ดังนั้นจึงได้จัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตทางด้านการบริหารธุรกิจเพื่อพัฒนาบุคลากรสู่ภาครัฐและเอกชน ให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการแข่งขันได้ในเวทีอาเซียนและเวทีโลก
ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา
การรับรองหลักสูตร
รายละเอียด ดาวน์โหลด
เริ่มเปิดดำเนินการ
ปี 2551
ระยะเวลาในการศึกษา
3 ปีการศึกษา
สถานที่เรียน
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
การประกันคุณภาพ
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ค่าลงทะเบียน
1.
ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน
8,000
บาท
2.
ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด)
495,000
บาท
3.
ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์
60,000
บาท
รวมทั้งหมด
550,000
บาท
หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมสำหรับนิสิตต่างชาติระดับปริญญาเอก (USD 2000 ต่อภาคการศึกษา)
โครงสร้าง และ องค์ประกอบของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
(1) แผน 1 เน้นการทำวิจัย
การศึกษาในแผนนี้นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ ไปกับการสัมมนาทางวิชาการภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์โดย
แบบ 1.1
สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยอาจลงทะเบียน เรียนเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
-
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
-
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
48
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
-
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
-
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
72
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
72
หน่วยกิต
(2) แผน 2 ศึกษารายวิชา และ ทำวิจัย
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงาน ต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบโดย
แบบ 2.1 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
-
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
15
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
36
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
51
หน่วยกิต
แบบ 2.2 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
12
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
15
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
48
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
75
หน่วยกิต
รายวิชาของหลักสูตร
IT8001 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัย
N/C
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT) เพื่อ แสวงหาความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ ในสังคมยุคตัวเลข (digital society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) เรียนรู้สัมผัส ฝึกการสื่อสาร แลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการจัดการ เพื่อแสวงหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อ แสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ศึกษารวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และใช้งานฐานข้อมูลสนเทศ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสําหรับการวิจัยได้
EN8002 ภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา
N/C
ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่ เหมาะสมกับสาขาวิชา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสืบค้นองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จากสื่อ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงการวิจัย การอ่านและการเขียนบทความทาง วิชาการ บทความวิจัย และสามารถนําเสนอ ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
BA6102 ทฤษฎีองค์การและการจัดการ
3 (3-0-6)
ศึกษาลักษณะองค์การ ทฤษฎีผู้นํา ทฤษฎีการจูงใจ รูปแบบและกระบวนการ การบริหารในองค์การ รวมถึงการวางแผน การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทํางาน การสั่งการ การควบคุมการทํางานให้เป็นไปตาม แผนงาน ความสุขฝนองค์การ โดยเน้นถึงการศึกษาเชิงแนวปฏิบัติและกรณีศึกษา
BA6103 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
3 (3-0-6)
ศึกษาความคล้ายคลึงและความแตกต่างของแนวความคิดการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์และการ จัดการทรัพยากรมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดหา ประเมิน พัฒนาองค์การและทรัพยากร มนุษย์ การเก็บรักษาและใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติในปัจจุบัน รวมถึงการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ด้านการสรรหา การจัดการพัฒนา บุคลากร การสร้างขวัญและกําลังใจของบุคลากรในองค์การ โดยเน้นถึงการศึกษาเชิง แนวปฏิรูปและ กรณีศึกษา
BA6104 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
3 (3-0-6)
ศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ และเพื่อจัดการเรียนรู้โดยอาศัยหลักการจัดเก็บ ข้อมูลและประมวลผล ทั้งด้วยเครื่องหรือด้วยมือ การวิเคราะห์ระบบข้อมูลและการพัฒนาระบบข้อมูลที่มี ให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนทางเทคนิค และการควบคุม จัดการการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์และการกําหนด นโยบายของผู้บริหารระดับสูง
BA6105 การบริหารการตลาด
3 (3-0-6)
ศึกษาการตลาดในศตวรรษที่ 21 การปรับตัวทางการตลาดสู่เศรษฐกิจใหม่ ทฤษฎีการตลาด ดิจิทัล เทคโนโลยี การสร้างความพอใจ การรักษาลูกค้า การวางแผนกลยุทธ์ การรวบรวมสารสนเทศ การวัดอุป สงค์ของการตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการตลาด ผู้บริโภค พฤติกรรมผู้ซื้อ ตลาดธุรกิจ พฤติกรรม การซื้อ การแข่งขัน การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย การวางตําแหน่งทางการตลาด การสร้าง ความแตกต่างข้อเสนอทางการตลาด โดยผ่านวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ การตลาดระดับโลก การกําหนดกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์และตราสินค้า การออกแบบ การจัดการ โฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ การจัดการทีมขาย ตลอดจนความพยายามทางการตลาด โดยรวม โดยเน้นการศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา
BA6106 ธุรกิจระหว่างประเทศ
3 (3-0-6)
ศึกษาทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ กระแสโลกาภิวัติ การศึกษาธุรกิจการค้าและการเงินภาพรวม การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และเศรษฐกิจ
BA6108 การบริหารเชิงกลยุทธ์
3 (3-0-6)
ศึกษาวิเคราะห์ ภารกิจขององค์การ สภาพแวดล้อมตลอดจนปัญหาต่างๆและประยุกต์ใช้กับความรู้ ในแขนงต่างๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนํามากําหนดกลยุทธ์ นโยบายและนําไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยเน้นถึงการศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา
BA8101 สัมมนาด้านการบริหารขั้นสูง
3 (3-0-6)
สัมมนาประเด็น ปัญหา และแนวโน้มด้านการบริหารและนวัตกรรมในหัวข้อที่น่าสนใจ โดยการใช้ กรณีศึกษา ผลการวิจัยหรือวิธีการอื่น เพื่อนําความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ โดยเน้น การศึกษาเชิง เละกรณีศึกษา
BA8102 – ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง
3 (1-4-4)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทวิจัย การ ออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการนําเสนอข้อมูล ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรมและจรรยาบรรณ ในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
BA8103 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูง
3 (1-4-4)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย วิธีการวิจัยการดําเนินงานวิจัย ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) การเก็บและการรวบรวมข้อมูล การ ตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ การ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็น รายบุคคล (Individual in depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้ เทคนิคเดลฟาย (Delphi method) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การทําวิจัยแบบผสม (Mix Method) การเขียนโครงร่าง และการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนบทความ การวิจัยเชิงคุณภาพ
BA8104 การประเมินงานวิจัย
3 (1-4-4)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการประเมินงานวิจัย แนวทางในการประเมินงานวิจัยทั้งการวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ขั้นตอนและแนวทางการประเมินทฤษฎีและแบบจําลอง (Model) ที่ใช้ในงานวิจัย การประเมินแหล่งที่มาและกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การประเมินคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล การประเมินการวิเคราะห์ข้อมูล การแปรผล และอภิปรายผลการวิจัย การประเมินงานวิจัย ตามโครงสร้างของรายงานการวิจัย
BA8105 ดุษฎีบัณฑิตสัมมนา
3 (1-4-4)
สัมมนาในหัวข้อที่จะนําไปสู่การทําดุษฎีนิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของอาจารย์ที่ เชี่ยวชาญในหัวข้อดังกล่าว และการศึกษาดูงานในประเทศ/ต่างประเทศเพื่อนํามาบูรณาการในการวิจัย โดย จัดทําเป็นรายงานผลการศึกษาดูงาน
BA9201 ดุษฎีนิพนธ์
36 หน่วยกิต
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
BA9202 ดุษฎีนิพนธ์
48 หน่วยกิต
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
BA9203 ดุษฎีนิพนธ์
72 หน่วยกิต
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เชื่อมต่อการเรียนรู้ “ทุกที่.. ทุกเวลา”