มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น WESTERN-WTU.com
: สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
Support Center
097 949 9161

Open everyday

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น WESTERN-WTU.com

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษา ผ่านระบบเครือข่าย(CNE)
สมัครเรียนปริญญาตรีออนไลน์ เรียนปริญญาโทออนไลน์ เรียนปริญญาเอก

สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

(ปริญญาโท)

บัณฑิตวิทยาลัย

          บัณฑิตวิทยาลัย กระแสวิวัฒนาการของสังคม ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้ และ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับ และ ก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ และ การบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

          คณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุขให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างวิสัยทัศน์ และ ผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และ บูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และ เพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา และ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย 

“การสาธารณสุขเพื่อ “สุขภาวะ” ที่ยั่งยืน”
“Public Health for Sustainable”

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
หลักการ และ เหตุผล

กระแสวิวัฒนาการของสังคม ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้ และ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับ และ ก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ และ การบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

          คณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุขให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างวิสัยทัศน์ และ ผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และ บูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และ เพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา และ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข
ภาษาอังกฤษ : Master of Public Health Program in Public Health Administration

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารงานสาธารณสุข)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ส.ม. (การบริหารงานสาธารณสุข)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Public Health (Public Health Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.P.H. (Public Health Administration)

การรับรองหลักสูตร

รายละเอียด ดาวน์โหลด

เริ่มเปิดดำเนินการ

ปี 2541

ระยะเวลาในการศึกษา

Course Work 1 ปีการศึกษา

สถานที่เรียน

ศูนย์ศึกษาผ่านระบบเครือข่าย

การประกันคุณภาพ

สภามหาวิทยาลัยและกระทรวง อุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/ รับทราบ หลักสูตร

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ค่าลงทะเบียน

1.

ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน

4,000

บาท

2.

ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร

168,000

บาท

รวมทั้งหมด

172,500

บาท

รายละเอียด กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) / บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้กำหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีละ 200,000 บาท และ ค่าครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท ดังนั้น นิสิตจะต้องชำระส่วนต่าง ค่าลงทะเบียนเรียนเป็นจำนวนเงิน 700,000 บาทต่อปี ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ (350,000 บาทต่อภาคการศึกษา)

บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด

บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน และ ส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิต และ นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือ ที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคน และ มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระในวันรายงานตัว

1.

ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน

3,500

บาท

รวมทั้งหมด

3,500

บาท

เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษา หรือ ต้องสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

โครงสร้าง และ องค์ประกอบของหลักสูตร

(1) แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชา และ ทำวิทยานิพนธ์

นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และ ทําโครงร่างวิทยานิพนธ์ และ จัดทําวิทยานิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ มี การเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์คณะกรรมการสอบ

หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

หมวดวิชาเฉพาะ

24

หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก

-

หน่วยกิต

หมวดวิทยานิพนธ์

12

หน่วยกิต

รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

36

หน่วยกิต

(2) แผน ข ศึกษารายวิชา และ ทําสารนิพนธ์

หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

หมวดวิชาเฉพาะ

24

หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก

6

หน่วยกิต

หมวดศึกษาค้นคว้าอิสระ และ สารนิพนธ์

6

หน่วยกิต

รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

36

หน่วยกิต

แบบ 2.2 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

หมวดวิชาบังคับ

18

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ

15

หน่วยกิต

ดุษฎีนิพนธ์

48

หน่วยกิต

รวมทั้งหมด

81

หน่วยกิต

รายวิชาของหลักสูตร

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต

เฉพาะผู้เรียนที่ไม่สําเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้องให้เรียน รายวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานเพิ่มเติม ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะวิชา

PH5001 พื้นฐานด้านสาธารณสุข
N/C

ศึกษาปัจจัยพื้นฐานของการดําเนินงานทางสาธารณสุข ศึกษาหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ศึกษาองค์การธุรกิจ การจัดองค์การและการบริหารงานสาธารณสุข ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆเพื่อ การดําเนินงานด้านสุขภาพและการสาธารณสุข

PH5002 ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
N/C

ศึกษาสังเคราะห์องค์ประกอบของภาษาอังกฤษและหลักเกณฑ์สําหรับแต่ละองค์ประกอบในตํารา ประกอบวิชาที่เรียนศึกษาภาษาอังกฤษ ด้วยการฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกฟัง และฝึกพูดและเพื่อการสืบค้นและการศึกษา ค้นคว้าจากตําราต่างประเทศสามารถอ่านและเขียนบทคัดย่อวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษได้

PH5003 ความสามารถเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
N/C

ศึกษาองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ ข้อมูลสารสนเทศ เรียนรู้ สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ ควบคุมและการจัดการสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้และตอบสนองความ ต้องการในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว

หมวดวิชาเฉพาะ บังคับเรียน 24 หน่วยกิต

PH6101 ระเบียบวิธีวิจัย
3 (3-0-6)

ศึกษาความหมาย ประเภทและกระบวนการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การกาหนดปัญหาการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย การสร้างเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงร่าง และรายงานการวิจัยการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ การนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และจริยธรรมการวิจัย โดยเน้น การใช้ Internet of Things (IoT) ที่เชื่อมโยงค้นหา วิเคราะห์ แปลผล และรับส่งข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นสําคัญ

PH6102 องค์การและการจัดการงานสาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษาลักษณะองค์การ ทฤษฎีผู้นํา ทฤษฎีการจูงใจ รูปแบบและกระบวนการ การบริหารในองค์การ รวมถึงการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทํางาน การสั่งการ การควบคุมการทํางานให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเน้นถึงการศึกษาเชิงแนวปฏิบัติและกรณีศึกษาบนพื้นฐานการวิจัยและนวัตกรรม

PH6103 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านสาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษาแนวคิด หลักการ และเป้าหมายในการบริหารงานบุคคลและทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์การในเชิงนโยบาย ตามกระบวนการสรรหาและคัดเลือก การวางแผนพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ การทํางานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ และการธํารง รักษาทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพ โดยเน้นถึงการศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษาบนพื้นฐานการวิจัยและนวัตกรรม

PH6104 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านสาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ การวางแผนเป้าหมายนโยบายและการจัดการองค์กร กลยุทธ์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของของผู้บริหารงานสาธารณสุขทุกระดับ ในการวิเคราะห์และพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหารงานสาธารณสุข โดยอาศัยหลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล ทั้งด้วยเครื่องมือหรือด้วย มือ เพื่อวิเคราะห์ระบบข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูลด้านสุขภาพให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็น ประโยชน์สูงสุด

PH6105 การบริหารงานสาธารณสุข
3 (3-0-6)

แนวคิด ทฤษฎี หลักการและกระบวนการบริหารสาธารณสุข นโยบาย กลยุทธ์ การวางแผนยุทธ์ศาสตร์ และจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข รวมถึงหลักการและกระบวนการบริหารงานทั่วไป เพื่อการประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการสาธารณสุข บทบาททักษะและภาวะผู้นาของผู้บริหารยุทธศาสตร์และการวางแผน การจัดองค์การ การอานวยการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การเงินและ งบประมาณ การติดต่อสื่อสาร การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร การนิเทศงาน การติดตามควบคุมกํากับการประเมิน และการรายงานผล การอภิบาลระบบสุขภาพด้วยเทคนิคเชิงบริหาร การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาการบริหารงาน สาธารณสุข และประยุกต์กระบวนการแก้ปัญหาและเทคโนโลยีการบริหารเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขทุกระดับ

PH6106 สัมมนาด้านงานสาธารณสุข
3 (3-0-6)

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop) เน้นศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสาธารณสุขที่น่าสนใจ ทั้ง ในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับพื้นที่ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้อง กําหนดประเด็นและหัวข้อปัญหา สาธารณสุขที่สนใจ และนําเสนอเชิงระบบ

PH6107 การเงินและการบัญชีเพื่อการบริหารงานสาธารณสุข
3 (3-0-6)

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop) เน้นศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสาธารณสุขที่น่าสนใจ ทั้ง ในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับพื้นที่ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้อง กําหนดประเด็นและหัวข้อปัญหา สาธารณสุขที่สนศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ด้านสาธาณสุข โดยใช้หลักการบัญชีการเงินขั้นมูลฐาน การ จัดเก็บ การรวบรวม การจัดจําแนกประเภทบัญชี เพื่อให้เข้าใจงบการเงินสามารถวัดผลการดําเนินงานและฐานะ การเงินขององค์การด้านสาธารณสุข ในการวางแผนและควบคุม ด้วยวิธีการบัญชี การวิเคราะห์ต้นทุนงาน สาธารณสุขโดยเน้นอรรถประโยชน์ การสนับสนุนการตัดสินใจ และการพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสให้แก่รัฐบาลและ องค์การด้านสาธารณสุขภายใต้การใช้ Internet of Things (IoT) ที่เชื่อมโยงค้นหา วิเคราะห์ แปลผล และรับส่งข้อมูล ด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นสําคัญ ใจ และนําเสนอเชิงระบบ

PH6108 การบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านสาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดหลักการกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์การประยุกต์หลักธรรมมาภิบาลใน การบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การสาธารณสุข การนําแผนกลยุทธ์สู่แผนปฏิบัติในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้าน สาธารณสุขโดยใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา

ให้นิสิตที่ศึกษาในแผน ข เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ จํานวน 6 หน่วยกิต ตามความ เห็นชอบของผู้อํานวยการหลักสูตร

PH6207 การนิเทศงานสาธารณสุข
3 (3-0-6)

แนวคิด หลักการ และระบบการนิเทศงานสาธารณสุข ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิเทศ การประเมินและการติดตามผลงานสาธารณสุข

PH6208 วิทยาการระบาดประยุกต์กับการบริหารสาธารณสุข
3 (3-0-6)

หลักการและระเบียนวิธีการศึกษาทางวิทยาการระบาด วิทยาการระบาดสังคม การประยุกต์วิทยาการ ระบาดเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพการ เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ การสอบสวนโรค การตรวจคัดกรองโรค การนําระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ บริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสารในงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

PH6209 การบริหารการตลาดและการประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษา เข้าใจถึงหน้าที่ บทบาทและความสําคัญของผู้บริหารงานสาธารณสุขในการจัดการด้าน การตลาด การประชาสัมพันธ์ กระบวนการและส่วนผสมทางการตลาด รวมถึงการวิเคราะห์และการพยากรณ์ พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อการวางแผน กําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในงานสาธารณสุข โดยเน้น การศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา

PH6210 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษาแนวคิดและหลักการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ นโยบายสาธารณสุข การจัดการด้านระบบบริการสาธารณสุข การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสาธารณสุข การเงินและการคลังสาธารณสุข และการใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ในการศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ การลงทุนและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข บทบาทภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบบริการ สาธารณสุข

PH6211 การสาธารณสุขมูลฐานและนวัตกรรมสาธารณสุข
3 (3-0-6)

แนวคิดเกี่ยวกับการสาธารณสุขและความสําคัญของงานสาธารณสุข ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงาน สาธารณสุข การสาธารณสุขในประเทศและต่างประเทศ ระบบสาธารณสุขในประเทศไทย การพัฒนางานสาธารณสุขในประเทศไทย บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข นวัตกรรมสาธารณสุข นโยบายการแก้ปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน แผนพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพ กองทุนสุขภาพ

PH6212 สุขภาพระหว่างประเทศ
3 (3-0-6)

วิวัฒนาการของสุขภาพและสวัสดิการสังคมระหว่างประเทศ ผลกระทบของการกําหนดนโยบายของ ประเทศและระหว่างประเทศต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของบุคคลและชุมชน บทบาทของความเชื่อทางวัฒนธรรม และค่านิยมต่อพฤติกรรมการเลือกใช้การบริการสุขภาพ ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ต่อสุขภาพและสวัสดิการสังคม ประเด็นจริยะธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เครื่องชี้วัดภาระโรคของทั่วโลก บทบาทขององค์กรนานาชาติ และ ความท้าทายต่อการพัฒนาสุขภาพทั่วโลก

PH6213 การจัดการสาธารณสุขในชุมชน
3 (3-0-6)

ศึกษาหลักการ ทฤษฎีต่างๆ แนวโน้ม การสร้างเครื่องชี้วัด การกําหนดกระบวนการและกลยุทธ์ ในการ พัฒนางานด้านการจัดการสาธารณสุขในชุมชน สร้างความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นโยบายสุขภาพของภาครัฐที่เป็นปัจจัยกับการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขชุมชน

PH6214 กฎหมายสาธารณสุข
3 (3-0-6)

ศึกษากฎหมายด้านสาธารณสุข กฎหมายที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย กฎหมายอนามัยสิ่งแวดล้อม กฎหมายการควบคุมโรค กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค และกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินการงานสาธารณสุข

PH6215 สุขภาพ อนามัยชุมชน และกระบวนการการพัฒนา
3 (3-0-6)

ศึกษาวิวัฒนาการ ภารกิจ แนวโน้ม การจัดการสุขภาพ อนามัยชุมชน โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพ การสาธารณสุขมูลฐานในสังคมไทย ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด กระบวนการ นวัตกรรม สาธารณสุข การพัฒนาการจัดการด้านสุขภาพแบบองค์รวม

(4.1) สําหรับผู้ที่เลือกเรียน แผน ก2 ทําวิทยานิพนธ์

PH7501 วิทยานิพนธ์
12 หน่วยกิต

ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคลโดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแลและ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษาและดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนด

(4.2) สําหรับผู้ที่เลือกเรียน แผน ข ไม่ทําวิทยานิพนธ์

PH7502 การศึกษาค้นคว้าอิสระและสารนิพนธ์
6 หน่วยกิต

ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในปัญหาหรือเรื่องที่น่าสนใจ โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแลและแนะนําจาก คณะกรรมการที่ปรึกษาและเขียนรายงานทางวิชาการตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกําหนด

CHANGE LANGUAGE

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษา ผ่านระบบเครือข่าย(CNE) สมัครเรียนปริญญาตรีออนไลน์ เรียนปริญญาโทออนไลน์ เรียนปริญญาเอก