ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนทุกคนได้รับการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุขเชิงรุก และยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศทำให้จำเป็นต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาประจำตามพยาบาลเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้บริการในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพแก่ประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประชาชนในระดับประเทศและนานาชาติได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า ปัญหาการขาดแคลนหรือมีจำนวนไม่เพียงพอของบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเชี่ยววชาญเฉพาะสาขาที่จะให้บริการแก่ประชาชน จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นอย่างยิ่ง
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจที่สำคัญคือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมสุขภาพ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขเพื่อการป้องกันเชิงรุก การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบต่อปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญจึงได้พิจารณาและเห็นว่าการเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาความรู้ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการงานสาธารณสุขซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงทางวิชาการในด้านสาธารณสุขของประเทศได้
การสาธารณสุขเพื่อ “สุขภาวะ” ที่ยั่งยืน
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
หลักการ และ เหตุผล
ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนทุกคนได้รับการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุขเชิงรุก และยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศทำให้จำเป็นต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาประจำตามพยาบาลเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้บริการในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพแก่ประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประชาชนในระดับประเทศและนานาชาติได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า ปัญหาการขาดแคลนหรือมีจำนวนไม่เพียงพอของบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเชี่ยววชาญเฉพาะสาขาที่จะให้บริการแก่ประชาชน จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นอย่างยิ่ง
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจที่สำคัญคือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมสุขภาพ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขเพื่อการป้องกันเชิงรุก การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบต่อปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญจึงได้พิจารณาและเห็นว่าการเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาความรู้ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการงานสาธารณสุขซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงทางวิชาการในด้านสาธารณสุขของประเทศได้
ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา
การรับรองหลักสูตร
เริ่มเปิดดำเนินการ
ปี 2551
ระยะเวลาในการศึกษา
3 ปีการศึกษา
สถานที่เรียน
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
การประกันคุณภาพ
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ค่าลงทะเบียน
1.
ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน
8,000
บาท
2.
ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด)
495,000
บาท
3.
ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์
60,000
บาท
รวมทั้งหมด
550,000
บาท
โครงสร้าง และ องค์ประกอบของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
(1) แผน 1 เน้นการทำวิจัย
การศึกษาในแผนนี้นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ ไปกับการสัมมนาทางวิชาการภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์โดย
แบบ 1.1
สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยอาจลงทะเบียน เรียนเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
-
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
-
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
48
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
48
หน่วยกิต
แบบ 1.2 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
-
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
-
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
72
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
72
หน่วยกิต
(2) แผน 2 ศึกษารายวิชา และ ทำวิจัย
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงาน ต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบโดย
แบบ 2.1 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
-
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
15
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
36
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
51
หน่วยกิต
แบบ 2.2 สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
18
หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
15
หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์
48
หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
81
หน่วยกิต
วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
เชื่อมต่อการเรียนรู้ “ทุกที่.. ทุกเวลา”