มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น WESTERN-WTU.com
: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Support Center
097 949 9161

Open everyday

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น WESTERN-WTU.com

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษา ผ่านระบบเครือข่าย(CNE)
สมัครเรียนปริญญาตรีออนไลน์ เรียนปริญญาโทออนไลน์ เรียนปริญญาเอก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

(ปริญญาเอก)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

   กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
     บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอด

“บริหารรัฐกิจเป็นมิตรปวงชน”

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักการ และ เหตุผล

   กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
     บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอด

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Public Administration
  •  

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
  • ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Public Administration)
  • ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Public Administration)
  •  

การรับรองหลักสูตร

pf 13d8618f 54C86C489570436090AF01A5C1BE6D67

รายละเอียด ดาวน์โหลด

เริ่มเปิดดำเนินการ

ปี 2551

ระยะเวลาในการศึกษา

3 ปีการศึกษา

สถานที่เรียน

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

การประกันคุณภาพ

สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ค่าลงทะเบียน

1.

ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน

8,000

บาท

2.

ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด)

495,000

บาท

3.

ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์

60,000

บาท

รวมทั้งหมด

550,000

บาท

หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมสำหรับนิสิตต่างชาติระดับปริญญาเอก (USD 2000 ต่อภาคการศึกษา)

โครงสร้าง และ องค์ประกอบของหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

(1) แผน 1 เน้นการทำวิจัย

การศึกษาในแผนนี้นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ ไปกับการสัมมนาทางวิชาการภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์โดย

แบบ 1.1

ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ โดยอาจลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน

หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

หน่วยกิต

หมวดวิชาบังคับ

-

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ

-

หน่วยกิต

ดุษฎีนิพนธ์

48

หน่วยกิต

รวมทั้งหมด

48

หน่วยกิต

(2) แผน 2 ศึกษารายวิชา และ ทำวิจัย

นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงาน ต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบโดย

แบบ 2.1 ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์

หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

หน่วยกิต

หมวดวิชาบังคับ

-

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ

15

หน่วยกิต

ดุษฎีนิพนธ์

36

หน่วยกิต

รวมทั้งหมด

51

หน่วยกิต

รายวิชาของหลักสูตร

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

นิสิตอาจต้องศึกษาในรายวิชาต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของบัณฑิตวิทยาลัย

IT8001 เทคโนโลยีดิจิทัลสารสนเทศทางรัฐประศาสนศาสตร์ (การสืบค้นสารสนเทศ)
Non-Credit

ศึกษาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้าถึงและใช้สารสนเทศทางรัฐประศาสนศาสตร์และ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ กระบวนการและเทคนิคการค้นคืนสารสนเทศและความรู้ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) การเข้าถึงปัญญาประดิษฐ์ การสืบค้นผ่านระบบ OPAC การใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) ฐานข้อมูลวารสาร (e-Journals) ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (e-Theses) รวมทั้งการใช้ โปรแกรมสําเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์และแปรผลข้อมูล

EN8002 ภาษาอังกฤษและการอ่านทางรัฐประศาสนศาสตร์ขั้นสูง
Non-Credit

ศึกษาทักษะภาษาอังกฤษสําหรับรัฐประศาสนศาสตร์ขั้นสูง กลวิธีในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การ ตีความ เทคนิคในการอ่านบทความ ตํารา เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ การเขียนสาระสังเขป (Abstract) บทความภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ รวมทั้งรูปแบบและวิธีการเขียนการ อ้างอิงในงานเขียนทางวิชาการ รวมทั้งศึกษาค้นคว้าและทบทวนวรรณกรรมในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง การอ่านเพื่อการสังเคราะห์ในหัวข้อเรื่องตามความสนใจของนิสิตในด้านองค์การและการจัดการ นโยบาย สาธารณะ รวมทั้งเน้นแนวคิดและกระบวนการต่างๆ ในการบริหารงานภาครัฐทั้งในระดับชาติ นานาชาติ ภูมิภาคและ ท้องถิ่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านการคลังและงบประมาณ เป็นต้น การนําเสนอ ผลงาน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ โดยคํานึงถึงบริบทของสังคมไทยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับ สากล

หมวดวิชาเฉพาะ

PA8101 ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
3 (3-0-6)

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ความรู้ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม กฎหมายมหาชน แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการภาครัฐ การคลังและการเงินภาครัฐ ระเบียบวิธีวิจัยทาง รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการวิสาหกิจชุมชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการกับการจัดบริการสาธารณะ มิติทางเศรษฐกิจกับการบริหารภาครัฐ การตลาดสําหรับรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารสาธารณะ แนวใหม่ การจัดทําและการส่งมอบบริการสาธารณะ ธรรมาภิบาล จริยธรรมนักบริหาร การปกครองและการบริหาร ท้องถิ่น เป็นต้น โดยคํานึงถึงบริบทของสังคมไทยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับสากล และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ องค์การและการจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

PA8102 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐประศาสนศาสตร์
3 (1-4-4)

ศึกษาความหมายและปรัชญาการวิจัยเชิงปริมาณ ลักษณะและความเป็นศาสตร์ เงื่อนไขและการวางรูปแบบ การวิจัยทั้งที่เป็นการทดลอง และที่ไม่ใช่การทดลอง รูปแบบการเก็บข้อมูล การสร้างเครื่องมือวัด เทคนิควิธี การเลือก ตัวอย่าง กระบวนการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบจําลองสถิติตัวแปรเดี่ยว ตัวแปรคู่ และตัวแปรพหุ รวมทั้งการแปลความหมายจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติที่นํามาใช้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างตัวแปร การวิเคราะห์ องค์ประกอบ และแบบจําลองทางสถิติที่ใช้สําหรับการจัดกลุ่มตัวแปร

PA8103 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางรัฐประศาสนศาสตร์
3 (1-4-4)

ศึกษาความหมายและปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพ บทบาท ขอบเขตและที่มาของการวิจัยเชิงคุณภาพ เงื่อนไขและการวางรูปแบบการวิจัย ได้แก่ สภาพปัญหา กรอบความคิดทฤษฎี การสํารวจเอกสาร ข้อสันนิษฐาน การเก็บ รวมรวมข้อมูล สภาพและบริบทของข้อมูล เครื่องมือในการวัดและการได้มาซึ่งข้อมูล ได้แก่ การสังเกตการณ์ การ สัมภาษณ์ การสนทนา การสัมภาษณ์กลุ่มเจาะลึก เทคนิคเดลฟาย การสืบสาวผลงานที่ปลอดภัย อิทธิพลจากนักวิจัย การ วิเคราะห์สาระและสังคม มิติ กระบวนการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล รวมทั้งการนําเสนอรายงานการวิจัย

PA8104 ปรัชญาเชิงศาสตร์
3 (1-4-4)

ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการค้นหาความรู้ของญาณวิทยา (Epistemology) ความหมาย ที่มา ธรรมชาติ และการกําเนิดของความรู้ ทําความเข้าใจกับกระบวนการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ที่มีอยู่ตามแนวทางของภววิทยา (Ontology) เข้าถึงหลักการสําคัญของวิธีการวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของกระบวนทัศน์ ในการศึกษาของสังคมศาสตร์ ตลอดจนการท้าทายของแนวคิดปรัชญาหลังยุคแสงสว่างทางปัญญา (Post-Enlightenment Philosophy) ซึ่งมีสกุลความคิดแนวหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralism) และสกุลความคิดแนวหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) วิพากษ์ด้วยการรื้อสร้าง (deconstruction) การหลุดพ้นจากการครอบงําขององค์ความรู้แบบเดิม เพื่อนําไปสู่ การสร้างและพัฒนาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์

PA8105 การบริหารและการจัดการภาครัฐ
3 (1-4-4)

ศึกษาการบริหารภาครัฐในระดับนโยบายและภาคปฏิบัติ กระบวนการนโยบายสาธารณะ การศึกษาและ วิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้านต่างๆ เชื่อมโยงและบูรณาการความร่วมมือกับต่างประเทศในกรอบอาเซียนและภูมิภาค การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ การวางแผนและการบริหารโครงการ การกําหนดทางเลือก สาธารณะ การวิเคราะห์ผลกระทบ รวมทั้งการบริหารการคลังและงบประมาณภาครัฐ การจัดการด้านทรัพยากรด้าน การเงิน การวิเคราะห์การลงทุน การเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ การบริหารการเงินขององค์การภาครัฐ การบริหารรายได้ ภาครัฐ การบริหารรายจ่ายภาครัฐ การบริหารความเสี่ยงด้านการคลังและงบประมาณ การคลังและงบประมาณท้องถิ่น การบริหารรายได้และรายจ่ายของท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น โดยคํานึงถึงบริบทของสังคมไทยและความ เปลี่ยนแปลงจากภาวะชงักงัน ความยุ่งเหยิงสับสนที่เกิดขึ้นในระดับสากล

หมวดดุษฎีบัณฑิต

PA9201 ดุษฎีนิพนธ์
36 หน่วยกิต

การกําหนดหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และการจัดทําโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล ให้ข้อเสนอแนะและเขียนดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบการดําเนินการตาม ขั้นตอนและการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด โดยผลการวิจัยควรก่อประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างองค์ ความรู้ใหม่และสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ตอบโจทย์ของภาวะความท้าทายและความชงักงันสับสนที่เกิดขึ้นใน บริบทใหม่ๆ ตลอดจนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและหรือนานาชาติ

PA9202 ดุษฎีนิพนธ์
48 หน่วยกิต

การกําหนดหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และการจัดทําโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล ให้ข้อเสนอแนะและเขียนดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบการดําเนินการตาม

CHANGE LANGUAGE

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษา ผ่านระบบเครือข่าย(CNE) สมัครเรียนปริญญาตรีออนไลน์ เรียนปริญญาโทออนไลน์ เรียนปริญญาเอก